เกษตรบ้านหลวง ร่วมส่งมอบพันธุ์ไม้ให้แก่เกษตรกรเจ้าของต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่ คทช.

วันที่ 21 สิงหาคม 2566

นายประทวน จันทร์ดี เกษตรอำเภอบ้านหลวง พร้อมด้วยนายชัยณรงค์ ดำดง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดน่าน ร่วมส่งมอบพันธุ์ไม้ให้แก่นายโกสินทร์ สุขยิ่ง ม.1 ตำบลบ้านพี้ เกษตรกรเจ้าของแปลงต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่ คทช. ตำบลบ้านพี้ อำเภอบ้านหลวง

เกษตรบ้านหลวง ลงพื้นที่ตรวจสอบแปลงข้าว ของเกษตรกรบ้านนาวี หมู่ 3 ตำบลบ้านฟ้า


วันที่ 23 สิงหาคม 2566
นายประทวน จันทร์ดี เกษตรอำเภอบ้านหลวง มอบหมายให้นายนพดล อุปถัมภ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ลงพื้นที่ตรวจสอบแปลงข้าว ของเกษตรกรบ้านนาวี หมู่ 3 ตำบลบ้านฟ้า พบมีการระบาดของโรคใบไหม้ในระยะควบคุมได้ จึงแนะนำให้เกษตรกรงดการใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนและแนะนำให้เกษตรกรใช้สารชีวภัณฑ์บีเอส ฉีดพ่นตามอัตราที่แนะนำ หากมีการระบาดที่รุนแรงมากขึ้น ได้แนะนำให้เกษตรใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราฉีดพ่น เพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อราขยายวงกว้าง

เกษตรบ้านหลวง ลงพื้นที่สำรวจนาข้าวบ้านพี้ใต้ บ้านพี้กลางและเกษตรสมบูรณ์ ตำบลบ้านพี้

****************************************

วันที่ 29 สิงหาคม 2566

นายประทวน จันทร์ดี เกษตรอำเภอบ้านหลวง พร้อมด้วยนายนพดล อุปถัมภ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และนายชัยณรงค์ ดำดง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ พร้อมด้วยนายอุดม อุดคำอ้าย กำนันตำบลบ้านพี้ ลงพื้นที่สำรวจนาข้าวบ้านพี้ใต้ บ้านพี้กลางและเกษตรสมบูรณ์ ตำบลบ้านพี้ พบมีการระบาดของของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว ในระยะฮอปเปอร์เบิร์น หรือ ระยะอาการไหม้ที่รุนแรงที่ ซึ่งจะมีผลทำให้ข้าวเกิดอาการไหม้คล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อมๆ และจะขยายเป็นวงกว้างสู่แปลงข้างเคียง

-จึงแนะนำให้เกษตรกรเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้งดการใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง

– ควบคุมน้ำในนาข้าว ให้สลับแบบเปียกกับแห้ง

– เมื่อพบแมลงส่วนใหญ่เป็นตัวเต็มวัย จำนวนมากกว่า 1 ตัวต่อ 1 ต้น ให้ใช้สารอีโทเฟนพรอกซ์ อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน อัตรา 110 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออสารฟีโนบูคาร์บ อัตรา 60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

เกษตรบ้านหลวง เป็นวิทยากรอบรมโครงการบริหารจัดการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลบ้านฟ้า (ศบกต.)

วันที่ 30 สิงหาคม 2566

นายประทวน จันทร์ดี เกษตรอำเภอบ้านหลวง มอบหมายให้นายนพดล อุปถัมภ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพคุณภาพสูงและการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานตามโครงการบริหารจัดการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลบ้านฟ้า (ศบกต.) ให้กับเกษตรกรตำบลบ้านฟ้า จำนวน 40 ราย โดยมีนายเมืองดี เชื้อหมอ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฟ้า เป็นประธานในพิธีเปิด ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฟ้า

เกษตรบ้านหลวง ร่วมจัดเวทีชุมชนโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปี 2566 และสาธิตการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา แปลงใหญ่ข้าวปลอดภัยตำบลป่าคาหลวง

วันที่ 26 มิถุนายน 2566

นายประทวน จันทร์ดี เกษตรอำเภอบ้านหลวง มอบหมายให้นายนพดล อุปถัมภ์ นางไพลิน กิตติรัศม์สกุล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และนางสาวดาราวรรณ ปันคำ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ร่วมเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยแพร่ จัดเวทีชุมชนโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปี 2566 แปลงใหญ่ข้าวปลอดภัยตำบลป่าคาหลวง เพื่อสร้างความเข้าใจของสมาชิกในชุมชน และร่วมกันวางแผนดำเนินงาน พิจารณาแผนการผลิต กำหนดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว และโดยสำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหลวง ได้สาธิตการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาแก่สมาชิกเพื่อใช้ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช ณ หอประชุมบ้านนาหวายใหม่ หมู่ 5 ตำบลป่าคาหลวง อำเภอบ้านหลวง

เกษตรบ้านหลวง จัดประชุมสมาชิกแปลงใหญ่ข้าวปลอดภัยตำบลป่าคาหลวง

วันที่ 30 มิถุนายน 2566

นายประทวน จันทร์ดี เกษตรอำเภอบ้านหลวง มอบหมายให้นายนพดล อุปถัมภ์ นางไพลิน กิตติรัศม์สกุล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และนางสาวดาราวรรณ ปันคำ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ จัดประชุมสมาชิกแปลงใหญ่ข้าวปลอดภัยตำบลป่าคาหลวง เพื่อสร้างความเข้าใจของสมาชิกในชุมชน และร่วมกันวางแผนดำเนิน ณ หอประชุมบ้านนาหวายใหม่ หมู่ 5 ตำบลป่าคาหลวง อำเภอบ้านหลวง

เกษตรบ้านหลวง ลงพื้นที่สำรวจการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

วันที่ 27 มิถุนายน 2566

นายประทวน จันทร์ดี เกษตรอำเภอบ้านหลวง มอบหมายให้นายนพดล อุปถัมภ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และนางสาวดาราวรรณ ปันคำ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ลงพื้นที่สำรวจการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ช่วงอายุ 30 วัน พร้อมให้คำแนะนำการป้องกันและกำจัด และสารเคมีสำหรับพ่นทางใบ ได้แก่ สารกลุ่ม 5 สารสไปนีโทแรม 12 % SC อัตรา 20 มล. หรือ 25 % WG อัตรา 10 กรัม สารกลุ่ม 6 สารอีมาเมกตินเบนโซเอท 5% WG อัตรา 10 กรัม หรือ1.92 % EC อัตรา 20 มล. และติดตามการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ณ บ้านนาหวาย หมู่ 4 ตำบลป่าคาหลวง อำเภอบ้านหลวง

เกษตรบ้านหลวง ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระกุศลแด่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วันที่ 26 มิถุนายน 2566

นายประทวน จันทร์ดี เกษตรอำเภอบ้านหลวง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหลวง เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระกุศลแด่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในงานฉลองพระชนมายุ 8 รอบ 96 พรรษา โดยมีนายวัชระ เทพกัน นายอำเภอบ้านหลวง เป็นประธานในพิธี

เกษตรบ้านหลวง ติดตามผลการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอบ้านหลวง

วันที่ 23 มิถุนายน 2566

นายประทวน จันทร์ดี เกษตรอำเภอบ้านหลวง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหลวง ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอบ้านหลวง ตำบลบ้านพี้ อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน ของนายธีระศักดิ์ วงศ์ตุ้ย เพื่อติดตามการดำเนินงาน สำรวจปัญหา และความต้องการ พร้อมให้คำแนะนำด้านการเกษตร และด้านการตลาด โดยในช่วงนี้ที่ศูนย์ฯ มีผลผลิตทางการเกษตรที่ออกสู่ตลาดได้แก่ มะนาวพันธุ์แป้น อะโวคาโด หน่อไม้ ไข่ไก่ และพืชผักสวนครัว เช่น ผักปลัง มะเขือและพริก

เกษตรบ้านหลวง ร่วมต้อนรับคณะดูงานโครงการส่งเสริมการเกษตรตามวิถีชุมชนสู่เกษตรกรรมยั่งยืนจากจังหวัดพะเยา

วันที่ 23 มิถุนายน 2566

นายประทวน จันทร์ดี เกษตรอำเภอบ้านหลวง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหลวง ร่วมต้อนรับคณะดูงานจากกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา ซึ่งนำเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเกษตรตามวิถีชุมชนสู่เกษตรกรรมยั่งยืน จำนวน 36 ราย มาดูงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไผ่เมืองสวด ตำบลป่าคาหลวง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน โดยมีนายสมชาย มีศิลป์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไผ่เมืองสวด เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้และสาธิตการแปรรูปแก้วน้ำไม้ไผ่