ปัวเริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของ พญาภูคา เจ้าเมืองย่าง ศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่าง ใกล้เทือกเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอย ชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน กำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ ต่อมาพญาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คน ไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่น ผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองหลวงพระบาง) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำของ (แม่น้ำโขง) และขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนคร(เมืองปัว) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ การที่ให้ชื่อว่าเมือง “วรนคร” ก็เนื่องมาจาก พญาภูคา ได้เลือกชัยภูมิที่ดี เหมาะสมในการสร้างเมือง เสร็จแล้วจึงขนานนามว่าเมือง “วรนคร” ซึ่งหมายถึง เมืองดี นับว่าเป็นการเริ่มต้นราชวงศ์ภูคา เมืองวรนคร จึงกลายชื่อมาเป็น เมืองปัว ซึ่งหันไปมีความสัมพันธ์กับกรุงสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ดังปรากฏชื่อเมืองปัวอยู่ในหลักศิลาจารึก หลักที่ 1



อาณาเขตการติดต่อ

ทิศเหนือ                  ติดกับ           อำเภอเชียงกลาง และอำเภอบ่อเกลือ
ทิศใต้                       ติดกับ           อำเภอสันติสุข
ทิศตะวันออก             ติดกับ          อำเภอบ่อเกลือ
ทิศตะวันตก               ติดกับ           อำเภอท่าวังผา  

ลักษณะภูมิประเทศ (Topographic)    

                2.1 สภาพพื้นทีภูเขา ป่าไม้ ที่ราบสูง ที่ราบลุ่ม

                         ป่าไม้  อำเภอปัว มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขามีพื้นที่ราบสำหรับการเพาะปลูกจำนวนจำกัดเป็นพื้นที่แคบๆ สลับกับเนินเขาเตี้ย ในช่วงระดับความสูง  200 –  500  เมตรจากระดับน้ำทะเล

                         – ที่ราบ                ร้อยละ  20  ของพื้นที่

                         – ภูเขา                 ร้อยละ  34  ของพื้นที่

                         – พื้นน้ำ                ร้อยละ  1    ของพื้นที่

                         – พื้นที่ป่า              ร้อยละ  45  ของพื้นที่

                         ทรัพยากรป่าไม้ ลักษณะของป่าและพืชพันธุ์ไม้ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท

  1. ป่าดงดิบเขา (Hill evergreen forest) เป็นป่าที่มีความอุสมบูรณ์ มีอยู่ตามหุบเขา ริมน้ำลำธารส่วนใหญ่อยู่ตอนใต้ตอนกลาง และตอนเหนือของพื้นที่บางส่วน มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 25 ของพื้นที่พรรณไม้ที่สำคัญ คือ ก่อยาง ตะเคียน มะค่าโมง มณฑาป่า จำปีป่า กำลังเสือโคร่ง ไม้พื้นล่าง ประกอบด้วย หวาย ผักกูด มอส เฟริ์น กล้วยไม้ ฯลฯ
  2. ป่าดงดิบแล้ง (Dry evergreen forest) เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ อยู่ตามหุบเขา มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่พันธ์ไม้ที่สำคัญ คือ ยาง ตะเคียน มะค่าโมง จำปีป่า ประดู่ ก่อ ต้นชมพูภูคา เป็นต้น พันธุ์ไม้พื้นล่างประกอบด้วย ไม้ไผ่ชนิดต่างๆ เฟริ์น หวาย เถาวัลย์ชนิดต่างๆ
  1. ป่าเบญจพรรณ (Deciduous forest) มีอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่ส่วนใหญ่ของป่าดอยภูคา บริเวณที่ราบตามรอบพื้นที่ และบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อย มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ ยาง มะค่าโมง ประดู่ แดง ตะแบก ไม้พื้นล่างประกอบด้วยไม้ไผ่ชนิดต่างๆ
  2. ป่าเต็งรัง (Dry dipterocarp forest) เป็นป่าที่มีอยู่บริเวณโดยรอบของพื้นที่ตามลาดเขา และบนภูเขาในพื้นที่บางจุดป่าประเภทนี้มีอยู่น้อยมาก เนื้อที่ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง มะค่า พะยอม รกฟ้า ไม้พื้นล่างประกอบด้วย มะพร้าวเต่า ปุ่มแป้ง หญ้าเเพ็ก
  3. ป่าสนธรรมชาติ ( Pine forest) มีขึ้นอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ ในพื้นที่ตอนใต้ของอุทยานฯใกล้ๆกับดอยภูหวดส่วนใหญ่จะขึ้นผสมกับป่าเต็งรังลักษณะเป็นสน 3 ใบ
การแบ่งเขตการปกครอง    
ที่ชื่อตำบลตัวเมืองอักษรโรมันจำนวนหมู่บ้านจำนวนครัวเรือนจำนวนประชากร
1.
ปัวLN-Tambon-Pua.pngPua
8
3,063
7,302
2.
แงงLN-Tambon-Ngaeng.pngNgaeng
7
1,395
4,843
3.
สถานLN-Tambon-Sathan.pngSathan
13
1,967
6,074
4.
ศิลาแลงLN-Tambon-Sila laeng.pngSila Laeng
8
1,187
3,968
5.
ศิลาเพชรLN-Tambon-Sila Phet.pngSila Phet
10
1,381
4,567
6.
อวนLN-Tambon-Uan.pngUan
11
1,554
4,990
7.
ไชยวัฒนาLN-Tambon-Chai Watthana.pngChai Watthana
8
1,319
4,232
8.
เจดีย์ชัยLN-Tambon-Chedi Chai.pngChedi Chai
9
1,995
6,908
9.
ภูคาLN-Tambon-Phu Kha.pngPhu Kha
14
1,305
4,902
10.
สกาดLN-Tambon-Sakat.pngSakat
4
783
2,903
11.
ป่ากลางLN-Tambon-Pa Klang.pngPa Klang
7
1,642
8,300
12.
วรนครLN-Tambon-Wora Nakhon.pngWora Nakhon
8
2,065
5,824

ข้อมูลติดต่อหน่วยงาน
ที่อยู่ : สำนักงานเกษตรอำเภอปัว จังหวัดน่าน
        208 หมู่ 5 ถนน ปัว-น้ำยาว ตำบลวรนคร
        อำเภอปัว จังหวัดน่าน รหัสไปรษณีย์ 55120
โทร : 054-791761
E-mail : pu791245@doae.go.th
Facebook  :  สำนักงานเกษตรอำเภอปัว จังหว้ดน่าน
Youtube :  สำนักงานเกษตรอำเภอปัว จังหวัดน่าน