อำเภอสองแคว

ที่ตั้ง อาณาเขต ขอบเขตการปกครอง

เดิมอำเภอสองแคว  จังหวัดน่าน  เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเชียงกลาง  ประกอบด้วย ๓ ตำบล ๒๕ หมู่บ้าน ได้รับการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๕ โดยใช้ชื่อกิ่งอำเภอสองแคว ตั้งอยู่ที่บ้านสองแคว หมู่ที่ ๕ ตำบลนาไร่หลวง ซึ่งคำว่า“สองแคว” มีความหมายว่าลำน้ำสองสายไหลมาบรรจบกัน คือ ลำน้ำยาวและลำน้ำยอด และต่อมามีพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๐ ให้ยกฐานะเป็น“อำเภอ” เมื่อ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ พื้นที่รวมทั้งสิ้น ๕๖๒.๙๗ ตารางกิโลเมตร  (๓๕๑,๘๕๓ ไร่)

อาณาเขต

อำเภอสองแคว มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เมืองเชียงฮ่อน)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอท่าวังผา  จังหวัดน่าน
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอทุ่งช้าง  และอำเภอเชียงกลาง  จังหวัดน่าน
  • ทิศตะวันต ติดต่อกับ อำเภอเชียงคำ  และอำเภอปง จังหวัดพะเยา

สภาพภูมิอากาศ

                    ลักษณะภูมิอากาศของอำเภอสองแคว ตั้งอยู่ในเขตร้อนค่อนไปทางเขตอากาศอบอุ่น ในฤดูหนาวจึงมีอากาศเย็นค่อนข้างหนาว แต่เนื่องจากอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินห่างไกลจากทะเลจึงมีฤดูแล้งที่ยาวนานและอากาศจะร้อนถึงร้อนจัดในฤดูร้อน

เขตการปกครอง อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน

       ตำบล หมู่ที่ตำบลนาไร่หลวงตำบลชนแดนตำบลยอด
1บ้านถ้ำเวียงแกบ้านห้วยเลาบ้านสะเกิน
2บ้านปางปุกบ้านวังเสาบ้านยอด
3บ้านหางทุ่งบ้านน้ำปานบ้านผาหลัก
4บ้านใหม่บ้านห้วยแกลบบ้านปางส้าน
5บ้านสองแควบ้านปางกอมบ้านผาสิงห์
6บ้านขุนน้ำพริกบ้านสบพางบ้านน้ำเกาะ
7บ้านปางไฮบ้านน้ำหลุ 
8บ้านวังไผ่บ้านห้วยมอย 
9บ้านน้ำพันบ้านใหม่ชายแดน 
10บ้านผาหมี  

  สำนักงานเกษตรอำเภอสองแคว

ที่ตั้ง : 100 หมู่ที่ 3 บ้านหางทุ่ง ตำบลนาไร่หลวง อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน

จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2537

วิสัยทัศน์

“เกษตรกรมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี
และมีรายได้เพิ่มขึ้น”

คำขวัญ

“ส่งเสริมการเกษตรอย่างสร้างสรรค์
ก้าวทันสถานการณ์ ปฏิบัติงานด้วยความภาคภูมิ”

พันธกิจ

1. ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้
2. ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรให้มีขีดความสามารถในการผลิตและจัดการสินค้าเกษตรตามความต้องการของตลาด
3. ให้บริการทางการเกษตรและผลิตปัจจัยทางการเกษตรเพื่อสนับสนุนและจำหน่ายแก่เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. ศึกษา วิจัย และพัฒนางานด้านการส่งเสริมการเกษตร และบูรณาการการทำงานกับทุกภาคส่วน