ศพก.

         ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) อำเภอท่าวังผา เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มเกษตรกรทำนาในพื้นที่เพื่อให้สามารถเกิดการพัฒนาทางการเกษตรจึงมีการพูดคุยร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรหาแนวทางการพัฒนาทางด้านการเกษตร โดยเริ่มต้นจัดตั้งศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลป่าคา (ศบกต.) มีการได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตามกิจกรรมที่สนใจและที่ทำอยู่แล้วให้ได้มีการรวมกันพูดคุย เสนอแนวทางพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างกลุ่มเกษตรกรที่ทำนาในพื้นที่ตำบลป่าคา จากนั้นในปี พ.ศ.2559 ได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และได้รับงบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลในการก่อสร้างอาคารศาลาเรียนรู้ศูนย์ฯ ตั้งอยู่ในพื้นที่สาธารณประโยชน์ ในบ้านหนองม่วง หมู่ 4 ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ปัจจุบันมีนายมนู ทิลาว บ้านเลขที่ 185 ม.1 ต. ป่าคา อ. ท่าวังผา จ.น่าน เป็นเกษตรกรต้นแบบและเป็นเจ้าของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ซึ่งมีอาชีพเป็นเกษตรกร กิจกรรมทำนาเป็นหลัก ได้ทดลองประยุกต์เทคโนโลยีเกษตรกรใหม่ๆ มาปรับใช้ในการทำนาแบบประณีต ที่สืบทอดวิธีการจากบรรพบุรุษในหมู่บ้าน หลังจากนั้นได้มีแนวคิดร่วมกับคณะกรรม ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบกต.) ตำบลป่าคา และ ศพก. อำเภอท่าวังผา ในการพัฒนาคุณภาพข้าว โดยการผลิตข้าวปลอดภัยและการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว โดย ศพก.ได้เป็นต้นแบบในการผลิตให้เกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ข้าว ตำบลป่าคา เชื่อมโยงการดำเนินงานกับเครือข่ายในพื้นที่อำเภอท่าวังผาเพื่อให้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต

สถานที่ตั้ง

แนวทางการพัฒนา :

1. พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนด้านการทำนาอินทรีย์ประณีต
2. ส่งเสริมและพัฒนาเป็นศูนเรียนรู้การปรับปรุงบำรงดิน
3. ส่งเสริมและพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรผสมผสานตามแนวทางเสรษฐกิจพอเพียง
4.  สนับสนุนการให้บริการด้านการเกษตรอย่างมีส่วนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เทคโนโลยีเด่นของศูนย์เรียนรู้ :

1. การทำนาแบบประณีตเน้นการปรับบำรุงดินและการใช้พันธุ์ด
2. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตข้าวปลอดภัยแบบครบวงจร
3. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวและการใช้เทคโนโลยีการคัดแยกเมล็ดพันธุ์
4. เกษตรผสมผสาน

การนำไปใช้ประโยชน์ : 
เป็นต้นแบบในการผลิตข้าวและเมล็ดพันธ์ข้าว รวมถึงการแปรรูปข้าวเชื่อมโยงการดำเนินงานกับวิสาหกิจชุมชนและแปลงใหญ่

หลักสูตรการเรียนรู้ :
1. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว
2. การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
3. มาตรฐานสินค้าเกษตร GAP
4. การจัดทำบัญชีครัวเรือน/บัญชีฟาร์ม
5. การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM)
6. การปรับปรุงบำรุงดิน
7. การแปรรูปข้าวปลอดภัย
8. การสร้างตลาดและเชื่อมโยงตลาดสินค้าเกษตร
9. เกษตรผสมผสานกับเศรษฐกิจพอเพียง

 

ฐานการเรียนรู้ :
1. การใช้การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อลดต้นทุน
2. กว่าจะเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าว
3. มาตรฐานสินค้าเกษตร GAP
4. การจัดทำบัญชีครัวเรือน/บัญชีฟาร์ม
5. การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM)
6. การเลี้ยงดิน
7. การทำข้าวกล้องปลอดภัย
8. การสร้างตลาดและเชื่อมโยงตลาดสินค้าเกษตร
9. เกษตรผสมผสานกับเศรษฐกิจพอเพียง