ยุทธศาสตร์

 

SWOT

จุดแข็ง

คน
     1. ความพร้อมบุคลากร ครอบคลุมพื้นที่ เป็นคนในพื้นที่  (สื่อสาร พัฒนางาน  ประสานงาน)
     2. คนมีความสามารถหลากหลาย (ทักษะ,ประสบการณ์)
     3. ความร่วมมือจากองค์กร,ผู้นำดี
     4. มีพลังมวลชน

งาน
     1. เป็นงานที่ใกล้ชิดประชาชน สามารถเข้าถึงพื้นที่
     2. เป็นงานเน้นการส่งเสริมและพัฒนามีประโยชน์ต่อเกษตรกร
     3. เป็นการทำงานแบบมีส่วนร่วม (บูรณาการ)
     4. มีข้อมูลการเกษตร/องค์กรเกษตรกร/เครือข่ายที่เชื่อถือได้
     5. มีงาน/อาชีพ/รายได้
       
องค์กร

     1. มีองค์กรและเครือข่ายในพื้นที่  เช่น ศบกต.  ศูนย์เรียนรู้ฯ  ศูนย์ปราชญ์  องค์กรเอกชน
     2. ระบบ IT  พร้อมสามารถรองรับสนับสนุนงานส่งเสริมได้
     3. มีระบบส่งเสริมการเกษตรที่ชัดเจน 
     4. ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สังคมและอื่น ๆ

     1. มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นที่มีความหลากหลายทางชนเผ่า เหมาะต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว
     2. มีความหลากหลายทางชีวภาพ แม่น้ำ ภูเขา อากาศ ฯลฯ
     3. มีความโดดเด่นของผลผลิต/ผลิตภัณฑ์
     4. แหล่งท่องเที่ยว/มรดกโลก
     5. มีพรมแดนติดประเทศเพื่อนบ้าน สามารถพัฒนาสู่ระบบการค้า ฯ
     6. ภูมิอากาศบนพื้นที่สูงเหมาะสมต่อการผลิตพืชที่ตลาดต้องการ เช่น ชา กาแฟ มะคาเดเมีย พืชผัก และไม้ดอกเมืองหนาว

จุดอ่อน

     1. เจ้าหน้าที่รับงานหลากหลาย
     2. เจ้าหน้าที่ขาดความรู้/ชำนาญเฉพาะด้าน (IT) พืชเศรษฐกิจ (ยาง)
     3. เจ้าหน้าที่ขาดข้อมูล และความรู้เรื่องอาชีพทางเลือกเพื่อเสนอทดแทนพืชเชิงเดี่ยว
     4. ขาด ทักษะการเขียน/การบันทึก/ขาดโอกาสในการพัฒนา
     5. เกษตรกรยากจน/มีหนี้สิน/การศึกษา/ภาษา/วัฒนธรรม
     6. เกษตรกรบนพื้นที่สูงเป็นชนเผ่าที่ขาดการกระตือรือร้นในการประกอบอาชีพจากพืชใหม่ที่มีลู่ทางการตลาดดี เช่น ชา กาแฟ มะคาเดเมีย พืชผักและไม้ดอกเมืองหนาว
     7. สภาพพื้นที่การเกษตรของเกษตรส่วนใหญ่มีความลาดชันสูงอยู่ในเขตป่ายากต่อการส่งเสริมการเกษตร
     8. เกษตรกรขาดการกระตือรือร้นในการพัฒนาอาชีพ (กลุ่ม/วิสาหกิจ/เจ้าหน้าที่)
     9. เกษตรกรยึดติดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว  ขาดวิสัยทัศน์การพัฒนาอาชีพ
     10. เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีความเข้มแข็ง พึ่งพาตัวเองไม่ได้(ข้อจำกัด)
     11. องค์กรขาดการบูรณาการ/การทำงานเป็นทีม
     12. มีการแยกส่วนในการทำงานระดับจังหวัด/อำเภอ
     13. ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรระดับพื้นที่น้อย

โอกาส

     1. มีแหล่งเงินทุนสนับสนุน
     2. มีการบูรณาการกับองค์กร/หน่วยงานอื่น เช่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, จังหวัด
     3. องค์ความรู้/เทคโนโลยี/ IT
     4. นโยบาย กระทรวง  กรม  จังหวัด ที่เป็นโอกาสให้พัฒนาทางการเกษตร
     5. ค่านิยมของคนในสังคม/
          - ด้านการตลาด (พืชปลอดภัย/วิสาหกิจชุมชน)
          - ด้านการท่องเที่ยว /วัฒนธรรม
          - ด้านบริโภค
     6. โอกาส/ความต้องการด้านผลผลิต 
          - ด้านส่งออก (รังไหม /ไม้ไผ่/ชา/กาแฟ/ยางพารา/มะม่วงน้ำดอกไม้/ส้มโอ/มะขามเปรี้ยว/ไผ่อุตสาหกรรม)
          -  ด้านบริโภคภายในจังหวัด (ข้าวปลอดภัย/หมู/ไข่/ปลา/ไก่/พืชผัก/ไม้ดอก
          -  บริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักและพืชผักที่ครบวงจรมีความต้องการเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ
          -  บริษัทผู้ผลิตต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพื่อส่งออกไปยังเกาหลี(บ.ไหมไทยน่าน) 
     7. เป็นพื้นที่ทรงงาน  (โครงการสายใยรัก/โครงการพระราชดำริ อาหารกลางวันฯลฯ 
     8. หลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
     9. นโยบายจังหวัดน่านผลักดันเรื่องการท่องเที่ยวและการค้าชายแดนเปิดโอกาสให้พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการผลิตอาหารที่ต้องการรองรับการท่องเที่ยวมากขึ้น
     10. เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าพลังงานชีวมวลที่ใช้ไม้โตเร็วเป็นวัตถุดิบ เป็นช่องทางให้เกิดโรงงานขนาดย่อมและส่งเสริมการปลูกป่าเป็นวัตถุดิบส่งโรงงาน
     11. เทคโนโลยีการผลิตไม้บอร์ดจากวัสดุเศษพืช เช่น ก๋งไม้ไผ่สับ
     12. อุตสาหกรรมจากไม้ไผ่ เช่น ไม้อัด ไม้ปาเก้ เครื่องจักสาน หน่อไม้กระป๋อง ประมงทะเล เฟอร์นิเจอร์ ของที่ระลึก โคมไฟ กระบอกเทียนหอม
     13. มีโรงงานแปรรูปอยู่ในจังหวัด 2 โรง ได้แก่โรงงานชาอู่หลง (ภูฟ้า) โรงงานชา ต.เรือง  ยังต้องการวัตถุดิบป้อนโรงงานเพิ่ม

ข้อจำกัด

     1. นโยบายที่มอบให้ดำเนินการไม่เอื้อต่อความเป็นจริงในพื้นที่(ไม่แน่นอน ไม่ชัดเจน เปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่ต่อเนื่อง มีข้อจำกัดด้านเวลาและเงื่อนไข)
     2. เกษตรกรมีพื้นฐานความรู้แตกต่างกัน มีผลต่อการยอมรับ
     3. ระบบการตลาดเป็นระบบผูกขาด
     4. การคมนาคมขนส่งสินค้าเกษตรห่างไกล
     5. การบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังไม่จริงจัง ทำงานซ้ำซ้อนทำให้เบื่อหน่าย
     6. ความก้าวหน้าในด้านสายงานของผู้ปฏิบัติระดับพื้นที่มีน้อย 
     7. ภูมิอากาศเกิดภัยพิบัติคุกคามและทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม
     8. หน่วยงานภายนอกไม่ยอมรับคุณภาพข้อมูล
     9. มีข้อจำกัดในการรับข่าวสารและกระแสโลกาภิวัตน์ (อ.เฉลิมพระเกียรติ/สองแคว/บ่อเกลือ)
     10. ค่านิยมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง
     11. แรงงานภาคการเกษตรลดลง
     12. เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
     13. นโยบายของรัฐสร้างค่านิยม ทำให้เกษตรกรไม่พึ่งพาตัวเอง
     14. กฏหมายทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นข้อจำกัดในการส่งเสริมการปลูกพืชทดแทนในเขตป่าที่ถูกบุกรุกเช่นการส่งเสริมไผ่ ยางพารา  ไม้โตเร็วเพื่อใช้สอยในครัวเรือน