สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน ร่วมจัดเวทีประชาคมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2566/2567 ซึ่งประสบปัญหาด้านการตลาด
สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน ร่วมจัดเวทีประชาคมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2566/2567 ซึ่งประสบปัญหาด้านการตลาด
************
วันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ณ หอประชุมบ้านปางสา หมู่ที่ 3 ตำบลจอมจันทร์ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน นายศักดิ์สิทธิ์ ศรีวิชัย เกษตรจังหวัดน่าน มอบหมายให้นางนิญาภัทร เข็มทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต และนายฐานวัจน์ สิทธิ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอเวียงสาจัดเวทีประชาคมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2566/2567 ซึ่งประสบปัญหาด้านการตลาด ทั้งนี้ในส่วนของกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน ได้ประชาสัมพันธ์การลดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ตามแนวทาง 3R Model ได้แก่ 1. Re-Habit ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชชนิดเดิมแบบไม่เผา โดยการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในกระบวนการ การแปรรูปเพิ่มมูลค่า 2. Replace with High Value Crops การปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูกบนพื้นที่สูง จากพืชไร่เป็นพืชเศรษฐกิจแบบผสมผสานที่มีมูลค่าสูง 3. Replace with Alternate Crops การปรับเปลี่ยนพืชทางเลือกบนพื้นที่ราบ เปลี่ยนพื้นที่นาปรังหรือพื้นที่นอกเขตชลประทาน ให้เป็นการปลูกพืชใช้น้ำน้อย พืชตระกูลถั่ว เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้วย
จากการชี้แจงแนวทางดังกล่าว R ที่เหมาะสมกับพื้นที่ คือ R2 (Replace with Alternate Crops) โดยหากต้องมีการปรับเปลี่ยนพืชจากพืชไร่เป็นพืชเศรษฐกิจแบบผสมผสานที่มีมูลค่าสูง เกษตรกรทั้ง 31 ราย ต้องการเปลี่ยนมาเป็นยางพารา โดยให้มีโครงการสนับสนุนกล้ายางพารา และมีเงินกู้ยืมประกอบการทำสวนยางโดยไม่เก็บเงินต้นจนกว่าจะเริ่มได้ผลผลิต (ประมาณ 7 ปี) และเนื่องจากการทำการเกษตรในพื้นที่บ้านปางสาอาศัยเพียงน้ำฝนอย่างเดี่ยว หากเปลี่ยนไปปลูกชนิดอื่นที่ใช้ปริมาณน้ำมาก น้ำจะไม่เพียงพอต่อการดูแลรักษา แต่ถ้ามีแหล่งน้ำที่เพียงพอ เช่น อ่างเก็บน้ำ บ่อพวง เป็นต้น ก็มีความต้องต้องการที่จะปลูกผักในโรงเรือน ไม้ผล เช่น มะม่วง ลิ้นจี่ ด้วย